วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด การวัดความยาวและระยะทาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ละมัย เรืองอร่าม)

ชื่อเรื่อง           การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด การวัดความยาวและระยะทาง
                    กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  
ผู้รายงาน         นางละมัย เรืองอร่าม
ปีการศึกษา      2559


บทคัดย่อ


การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์             ชุด การวัดความยาวและระยะทาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้ 80/80 (2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษา   ปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน (ประชาธิปถัมภ์) ระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์   ชุด การวัดความยาวและระยะทางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน (ประชาธิปถัมภ์) ที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์       ชุด การวัดความยาวและระยะทาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 33คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย (1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด การวัดความยาวและระยะทาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ (4) แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด การวัดความยาวและระยะทาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ( Dependent  t-test ) สรุปได้ดังนี้
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด การวัดความยาวและระยะทาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ  88.01 / 84.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80  ที่กำหนดไว้       
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด การวัดความยาวและรยะทาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุด การวัดความยาวและรยะทาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก






วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

แบบฝึกวาดภาพระบายสี ชุดทัศนธาตุ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชื่อเรื่อง                       การพัฒนาแบบฝึกวาดภาพระบายสี ชุดทัศนธาตุ
                                   สาระทัศนศิลป์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา                       นางฐิตินันท์  ทองอยู่
โรงเรียน                     เทศบาลบ้านหัวหิน(ประชาธิปถัมภ์)
ปีการศึกษา                 2557

บทคัดย่อ

การศึกษาการพัฒนาแบบฝึกวาดภาพระบายสี ชุดทัศนธาตุ สาระทัศนศิลป์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ได้ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน (ประชาธิปถัมภ์) จำนวน  30  คน ทำแบบฝึกวาดภาพระบายสี ชุดทัศนธาตุ จำนวน 5 เล่ม  มีจำนวนแบบฝึกทั้งหมด 50 แบบฝึก พบว่าประสิทธิภาพของแบบฝึกวาดภาพระบายสี ชุดทัศนธาตุ  ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดด้วยการหาค่าร้อยละ ได้มีการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะทางการวาดภาพระบายสีก่อนและหลังการใช้แบบฝึกวาดภาพระบายสี  ชุดทัศนธาตุ และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้แบบฝึกวาดภาพระบายสี  ชุดทัศนธาตุ โดยหาค่าร้อยละกำหนดสถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏผลดังนี้
1.  การพัฒนาแบบฝึกวาดภาพระบายสี ชุดทัศนธาตุ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4  มีประสิทธิภาพ  83.54/ 85.53  สรุปว่ามีประสิทธิภาพของแบบฝึกอยู่ในเกณฑ์ดี
2.  ผลสัมฤทธิ์  ทักษะการวาดภาพระบายสี หลังการใช้แบบฝึกวาดภาพระบายสี  ชุดทัศนธาตุ  สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่า     ก่อนใช้แบบฝึก
3.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาแบบฝึกวาดภาพระบายสี ชุดทัศนธาตุ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในระดับความพอใจมากที่สุด


การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายบุคคลและการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้การเรียนแบบ TAI ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สาระทัศนศิลป์ เรื่อง เทคนิคการใช้สีไม้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชื่อเรื่อง       การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายบุคคลและการเรียนแบบร่วมมือ
                   โดยใช้การเรียนแบบ TAI ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สาระทัศนศิลป์
                    เรื่อง เทคนิคการใช้สีไม้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 
ผู้ศึกษา        นางฐิตินันท์  ทองอยู่
โรงเรียน      เทศบาลบ้านหัวหิน(ประชาธิปถัมภ์)
ปีการศึกษา   2557

บทคัดย่อ

          การศึกษาการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายบุคคลและการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้การเรียนแบบ TAI ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สาระทัศนศิลป์ เรื่อง เทคนิคการใช้สีไม้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2  ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน (ประชาธิปถัมภ์) จำนวน 30 คน พบว่าประสิทธิภาพของการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายบุคคลและการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้การเรียนแบบ TAI ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สาระทัศนศิลป์ เรื่อง เทคนิคการใช้สีไม้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดด้วยการหาค่า   ร้อยละ ได้มีการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์เทคนิคการใช้สีไม้ ก่อนและหลังการใช้การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายบุคคลและการเรียนแบบ
ร่วมมือ โดยใช้การเรียนแบบ TAI ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สาระทัศนศิลป์ เรื่อง เทคนิคการใช้ สีไม้ และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายบุคคลและการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้การเรียนแบบ TAI ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สาระทัศนศิลป์ เรื่อง เทคนิคการใช้  โดยหาค่าร้อยละกำหนดสถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏผลดังนี้
1.  การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายบุคคลและการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้การเรียนแบบ TAI ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สาระทัศนศิลป์ เรื่อง เทคนิคการใช้สีไม้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีประสิทธิภาพ  83.50 / 84.00  สรุปว่ามีประสิทธิภาพของการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้  รายบุคคลและการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้การเรียนแบบ TAI ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สาระทัศนศิลป์ เรื่อง เทคนิคการใช้อยู่ในเกณฑ์ดี
2.  ผลสัมฤทธิ์ เทคนิคการใช้สีไม้ หลังการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายบุคคล   และการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้การเรียนแบบ TAI ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน  สาระทัศนศิลป์ เรื่อง เทคนิคการใช้ สีไม้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนการพัฒนากิจกรรม   การจัดการเรียนรู้รายบุคคล  และการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้การเรียนแบบ TAI ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สาระทัศนศิลป์ เรื่อง เทคนิคการใช้ สีไม้
3.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายบุคคลและการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้การเรียนแบบ TAI ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน สาระทัศนศิลป์  เรื่อง เทคนิคการใช้ สีไม้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในระดับความพอใจมากที่สุด


วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

บทความทางวิชาการ


การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
The Participation of  Parents  in Teaching and Learning of  Tedsaban Banhuahin School
Prachuap Khiri Khan Province

นางฐิตินันท์ ทองอยู่ และ ดร.สุริยะ เจียมประชานรากร
นักศึกษาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
                    การวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล บ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองจำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา รายได้ และตามระดับชั้นเรียน        ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน  320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่น .938 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแ สถิติทดสอบที (t - test)           การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way  ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ      เชฟเฟ (Scheffe’)
                    ผลการวิจัยพบว่า
                    1.  การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการของสอนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมประสบการณ์แก่เด็กที่บ้านอยู่ในระดับมาก ด้านการให้ความรู้ผู้ปกครอง อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่นักเรียนที่โรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ อันดับสุดท้าย คือ  ด้านการมีส่วนร่วม   ในการสนับสนุนโรงเรียน อยู่ในระดับน้อย  
                   2.  การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกผู้ปกครองตามอายุในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract
                    The research on The Participation of  Parents in Teaching and Learning of  Tedsaban Banhuahin School Prachuap Khiri Khan Province. The purposed of  this research was to study the involvement of parents in the education of  Tedsaban Banhuahun School Prachuap Khiri Khan Province, with the participation of parents by gender, age, education, income and level of student. The sample comsisted of 320 parents. The instrument used to collect was the questionnaire developed by the researcher.  Reliabity Coefficients .938      The data were percentage, mean (), Standard Deviation (S.D.), t – test Statistic , One – way analysis of variance (One – way ANOVA) and compare the difference. The median was the couple with the method of Scheffe’
                    The results showed that
                    1.  The Participation of  Parents in Teaching and Learning of  Tedsaban Banhuahin School
Prachuap Khiri Khan Province as a whole was moderate, were at the level of 2.97, Standard deviation of 0.67. When considered in each aspect , sequnce were the participation in life experiences of the children at home at the high level. Education the parents at the moderate level.And participation in enhancing the student experience at school at  the moderate level. The last part in supporting the school at the low level.
                    2.  A compassion of  The Participation of  Parents in Teaching and Learning of  Tedsaban Banhuahin School Prachuap Khiri Khan Province. Classified by age of parents in general, was significant difference at the level of .05.

บทนำ
                    เมื่อระบบการศึกษาในโรงเรียนมีการพัฒนาขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ระบบการศึกษาไทยนำเข้ามาจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด การผูกขาดการศึกษาไว้ที่โรงเรียนมากขึ้น พ่อแม่ และผู้ปกครองกลับมีบทบาทในการจัดการศึกษาน้อยมาก เหลือเพียงประการเดียวคือ คอยตักเตือนให้เด็กเรียนหนังสือเท่านั้น (รุ่ง แก้วแดง, 2541, หน้า 167 – 169)      
                    เมื่อมีการยกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ได้มีการนำประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของครอบครัวกับการศึกษาขึ้นมา แล้วจัดให้ มีการวิจัยในประเด็นนี้ เพื่อเสนอวิสัยทัศน์ที่พึงประสงค์และสรุปเป็นสาระบัญญัติ ที่ควรบัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับนี้  เพื่อส่งเสริมบทบาทของครอบครัวกับการศึกษาต่อไป (นภเนตร ธรรมบวร, 2541. หน้าคำนำ)
                    สาระบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) ที่ได้ระบุถึงบทบาทของครอบครัว พ่อแม่หรือผู้ปกครองในการจัดและพัฒนาการศึกษา เพื่อการปฏิรูปการศึกษาไทยทั้งระบบ รวมทั้งในมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก:ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีประเด็นสำคัญ สรุปได้ก็คือ
                    1. มุ่งให้ (Aims) ครอบครัว / ผู้ปกครอง หรือชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดและพัฒนาการศึกษาร่วมกับสถานศึกษา
                    2.  กำหนดหน้าที่และสิทธิประโยชน์ที่ครอบครัว/ผู้ปกครอง ต้องปฏิบัติ (Means) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    3.  จุดหมาย (End) เพื่อให้เกิดสภาพพึงประสงค์ คือ ครอบครัว / ผู้ปกครองและชุมชน เห็นความสำคัญและรู้สึกเป็นเจ้าของสถานศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ : สกศ, หน้า 2544 ข, หน้า 30)
                    เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้น ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กระแสการเรียกร้องของนักการศึกษาและหน่วยงานราชการ ในเรื่องการมีส่วนร่วมของครอบครัว / ผู้ปกครองรวมทั้งชุมชน  มีมากขึ้นและมีการริเริ่มนำร่องด้วยโครงการต่าง ๆ จากหน่วยงานของรัฐ ประเด็นที่เป็นปัญหา คือ ความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ หรือความจำเป็น  ที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ปกครองมีมากน้อยเพียงใด จะเข้าร่วมอย่างไรโรงเรียนหรือผู้บริหารและครูในโรงเรียนมีความต้องการ หรือเข้าใจขอบข่ายการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมากน้อยอย่างไร
             ดังตัวอย่างของสุภาวดี หาญเมธี (2543, หน้า 39 – 40) ผู้ก่อตั้งชมรมพ่อแม่และต่อมาขอจดทะเบียนเป็นมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และเป็นผู้เข้าร่วมเสนอแนะประเด็นต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทพ่อแม่ในการ  เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของลูกบรรจุไว้  ในร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้ความเห็นว่า --- พ่อแม่ที่มีความสนใจและตื่นตัว เมื่อรู้ว่ามีโอกาส มีสิทธิ์ ก็เข้าไปมีส่วนร่วม แต่พ่อแม่โดยทั่วไป ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่ยังไม่ค่อยรู้และไม่เข้าใจว่า กฎหมายพูดถึงอะไรบ้าง ----นอกจากนี้ในเรื่องสาระบัญญัติ  ในมาตราต่าง ๆ  --- ก็ยังไม่ได้ระบุชัดเจน ---- ต้องอาศัยการตีความอีกมาก ---- ไม่รู้ว่าจะเป็นแบบไหนและต้องปฏิบัติอย่างไร ---- อย่าว่าแต่ว่าพ่อแม่ทั่วไป ที่เป็นคนส่วนใหญ่เลย เอาแค่พ่อแม่ที่สนใจ แล้วอยากเข้าไปเชื่อมกับโรงเรียน หลายคนยังนึกไม่ออกว่า จะทำอย่างไร ----สำหรับความคิดเห็นของตัวแทนผู้ปกครองที่เข้าร่วมการฟังบรรยายพิเศษเรื่อง วัตถุประสงค์การจัดงานครบรอบ 1 ปี สมศ.เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา [สมศ.], 2544 หน้า 51 – 52) ได้เสนอความเห็นว่า เมื่อผู้ปกครอง เข้าไปเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา เมื่อมีปัญหาและผู้ปกครองเข้าไปเสนอแนะให้ผู้บริหารจัดการ ปรากฏว่า      มีปัญหา ผู้บริหารไม่สนใจไม่ให้ความสำคัญ และหากเข้าไปมีบทบาทมาก ก็เกิดปัญหากับลูก  ที่เรียนอยู่ ประเด็นนี้สอดคล้องกับสุภาวดี หาญเมธี (2543, หน้า 41) ที่กล่าวว่า ---พ่อแม่คนหนึ่งในชมรมพ่อแม่ บอกว่าช่วงแรก   เข้าไป ผอ.ก็เปิดรับมาก ปรากฏว่าเมื่อพ่อแม่เข้าไปลึกกว่านั้น  พูดถึงเนื้อหาหลักสูตร พูดถึงวิธีการสอนของครู ทีนี้โรงเรียนไม่รับฟังแล้ว ----นอกจากนี้ ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายพ่อแม่เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ที่ได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ในการสัมมนาเผยแพร่งานวิจัยและระดมความคิด เพื่อหาแนวทางขยายผลโครงการนำร่อง : โครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เมื่อวันที่ 10 – 11 มิถุนายน 2545 (สกศ.,2545, หน้า 31 – 32) เสนอความเห็นว่า --- เครือข่ายพ่อแม่ ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นเสาหลักที่สำคัญ เนื่องจากเป็นผู้ที่ใกล้ชิดผู้เรียนมากที่สุด ---- ปัญหา คือ พ่อแม่ ผู้ปกครองส่วนมาก ยังไม่เข้าใจ  การปฏิรูปการเรียนรู้ที่แท้จริง และทีการแก้ปัญหาอย่างง่าย ๆ แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด คือ ให้เด็กเรียนกวดวิชา ---- สิ่งหนึ่งที่จับประเด็นได้ คือ ต้องมีการพูดคุยระหว่างบ้านและโรงเรียนมากขึ้น เพื่อจะได้เข้าใจทิศทางการศึกษา และเกิดความร่วมมือระหว่างกันและกันมากขึ้น ----
จากตัวอย่างความเห็นของบุคคล ดังกล่าว ชี้ให้เห็นประเด็นที่น่าสนใจคือ แม้มีบทบัญญัติไว้ในกฎหมาย ให้ครอบครัว /       ผู้ปกครอง / ผู้ปกครองมีบทบาทส่วนร่วมในการจัดและพัฒนาการศึกษาในระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะในสถานศึกษา แล้วก็ตาม ยังพบว่า ความรู้ความเข้าใจกระบวนการ หรือวิธีปฏิบัติการมีส่วนร่วม จะต้องมีขั้นตอน วิธีการอย่างไร เป็นความยุ่งยากลำบาก เนื่องจากบทบาทของครอบครัวด้านการศึกษา ถูกทำลายมาเป็นเวลานาน ดังที่ รุ่ง แก้วแดง (2541) ได้ชี้ปัญหาดังกล่าวไว้ข้างต้น เสมือนว่าครอบครัวพ่อแม่ผู้ปกครอง   ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้อง เพียงนำเด็กในความดูแล เข้าโรงเรียนเป็นอันหมดหน้าที่ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเท่านั้น จากแนวคิดต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน ซึ่งเป็นโรงเรียนหนึ่งที่มีนโยบาย ให้ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนด้วย เช่น การเชิญผู้ปกครองมาร่วมปฐมนิเทศ การเชิญผู้ปกครองมาร่วมกิจกรรม        ที่โรงเรียนจัดขึ้น เป็นต้น แต่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองไม่มาก ซึ่งทราบได้จากรายงานการประเมินโครงการการเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน จากปัญหาและแนวคิดต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมให้ผู้ปกครองนักเรียนให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามาสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาทุกสถานการณ์และทุกสถานที่ ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ทำให้ผู้ปกครองนักเรียนเกิดความรู้สึกว่าการมีส่วนร่วม ในการส่งเสริมการเรียนรู้เป็นความร่วมมือของทุกคนที่เป็นสมาชิกของสังคม ซึ่งเปรียบเสมือนเจ้าของโรงเรียนร่วมกัน ก่อให้เกิด ความภาคภูมิใจในสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นของตนเอง เป็นการสร้างความร่วมมือในการปรับปรุงพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ปกครองซึ่งหากผู้บริหารโรงเรียนทราบข้อมูลที่เป็นปัจจัยส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เป็นบ้านของผู้ปกครองของนักเรียนซึ่งจะสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้บรรลุผลตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2553 อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนให้สัมฤทธิ์ผล และมีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียน เป็นคนดี คนเก่งและเรียนอย่างมีความสุข พร้อมที่จะเป็นพลเมืองที่ดีของชาติต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย
                    1.  เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล บ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                    2.  เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา รายได้ และตามระดับชั้นเรียนของนักเรียน

วิธีการศึกษา
                    ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองที่บุตรหลานเรียนอยู่ในโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปีการศึกษา 2554 มีจำนวนนักเรียนรวมทั้งสิ้น  1,597 คน โดยกำหนดให้นักเรียน 1 คน   ต่อผู้ปกครอง 1 คน รวม 1,597 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร        ยามาเน(Taro Yamane)  ที่ระดับ ความมีนัยสำคัญ .05 ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 ได้จำนวนตัวอย่าง 320 คน ทำการเลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
                    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียน การสอนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีค่าความเชื่อมั่น .938

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ 
                    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( )  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบที (t – test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) ในกรณีที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญจะทดสอบเป็นรายคู่โดยใช้สูตรของ Scheffe’
  
ผลการทดสอบสมมติฐาน
                    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามเพศโดยรวม ไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกันทุกด้าน
                    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามอายุโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  พบว่าด้านการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่เด็กที่บ้าน ด้านการมีส่วนร่วมในการสริมสร้างประสบการณ์แก่เด็กที่โรงเรียน และด้านการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่มี อายุต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 1 คู่ ได้แก่ ผู้ปกครองที่มีอายุ 25-45 ปี กับอายุมากกว่า 45 ปี  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านใน ด้านการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่เด็กที่บ้าน ด้านการมีส่วนร่วม  ในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่เด็กที่โรงเรียน และด้านการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโรงเรียน พบว่า การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่มี อายุต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ  ทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 1 คู่ ได้แก่ ผู้ปกครองที่มีอายุ 25-45 ปี กับอายุมากกว่า 45 ปี
                    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามอายุโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และเมื่อเปรียบเทียบ   เป็นรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน
                   การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามระดับชั้นเรียนของนักเรียน ไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า    ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครอง แตกต่างกัน
                             เมื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่ของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล   บ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามระดับชั้นเรียนของนักเรียน ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการให้ความรู้ของผู้ปกครอง พบว่า การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่มี ผู้ปกครองนักเรียนจำแนกตามระดับชั้นเรียนของนักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียน    การสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 2 คู่ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนในระดับชั้นอนุบาลศึกษา กับผู้ปกครองนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและผู้ปกครองนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาผู้ปกครองนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 

ผลการวิเคราะห์
                    ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 227 คน คิดเป็นร้อยละ 70.94 มีอายุระหว่าง 25 - 45 ปี จำนวน  231 คน คิดเป็นร้อยละ 72.19 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา / ปวช. /อนุปริญญา จำนวน 158 คน คิดร้อยละ 49.38 มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท / เดือน จำนวน 259 คน คิดเป็นร้อยละ 80.94 และส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4 - 6) จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 29.69 
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในด้านต่าง ๆ โดยรวม และรายด้าน


การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ระดับการมีส่วนร่วม

ลำดับที่
  
S.D.
ระดับ
1.  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครอง
2. การมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่เด็กที่บ้าน 
3. การมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่เด็กที่โรงเรียน
4.  การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโรงเรียน                                                                                                          
3.12
3.78
2.61
2.38
0.72
0.58
0.83
0.97
ปานกลาง
มาก
ปานกลาง
น้อย
2
1
3
4
รวม
2.97
0.67
ปานกลาง


                    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72 เรียงลำดับ ได้แก่ การอ่านเอกสารที่ได้รับจากโรงเรียนเสมอ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ โรงเรียนแจ้งข่าวการอบรมให้ผู้ปกครองทราบอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในระดับมาก ลำดับสุดท้าย คือ  การเข้าร่วมจัดห้องเรียนกับนักเรียนและครู อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ
                    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในด้านการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่เด็กที่บ้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58 เรียงลำดับ ได้แก่ การส่งเสริมให้นักเรียนช่วยเหลือตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การคอยกระตุ้นเตือนให้นักเรียน ทำกิจกรรมตามที่ครูมอบหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับสุดท้าย คือ การเล่านิทานให้นักเรียนฟัง อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
                    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในด้านการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์แด่เด็กที่โรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.83 เรียงลำดับ ได้แก่ แนะนำให้นักเรียนชมรายการโทรทัศน์ที่มีประโยชน์ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ มีส่วนส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่าน อยู่ในระดับมาก ลำดับสุดท้าย คือ มีเวลาว่างให้กับนักเรียนเสมอ เมื่อนักเรียนต้องการ อยู่ในระดับน้อยที่สุด ตามลำดับ
                    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในด้านการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.97 เรียงลำดับ ได้แก่ สนับสนุนให้นักเรียนมาร่วมกิจกรรมของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ การเข้าร่วมประชุมกับโรงเรียนเมื่อได้รับเชิญ อยู่ในระดับปานกลาง ลำดับสุดท้าย คือ     มีส่วนร่วมไปเยี่ยมบ้านนักเรียนที่ประสบปัญหาต่าง ๆ อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ

สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
                      การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน           (ประชาธิปถัมภ์)  ใน 4 ระดับชั้นเรียน  ทั้งระดับชั้นอนุบาลศึกษา  ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย  และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  โดยภาพรวม 4 ด้าน  อยู่ในระดับ ปานกลาง ทั้งนี้เป็นเพราะ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรปัจจุบัน  มีลักษณะการจัดกิจกรรมและเนื้อหาสาระที่แตกต่างไปจากเดิม  ผู้ปกครองจึงไม่เข้าใจเนื้อหาวิธีการและการดำเนินกิจกรรมของหลักสูตร  นอกจากนี้ผู้ปกครองไม่มีเวลาให้กับนักเรียน  เนื่องจากผู้ปกครองนักเรียนส่วนมากต้องประกอบอาชีพ  ทำให้ไม่สามารถ    เข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกครั้ง  สอดคล้องกับงานวิจัยของ  จันทร์เพ็ญ ชูประภา  และคนอื่นๆ (2540)  ที่กล่าวว่า  ผู้ปกครอง ไม่สามารถ     มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้มากเท่าที่ควร  อาจเป็นเพราะสาเหตุมาจากเศรษฐกิจโดยเฉพาะเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  ทำให้แต่ละคนพยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว   ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ  บังอร อ้วนล้ำ (2540 ; อ้างถึงใน นิภาพรรณ หงส์ชูเกียรติ, 2544. หน้า 61)  วิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กในกิจกรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลธานี  ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กส่วนใหญ่  อยู่ในระดับปานกลาง  และสอดคล้องกับแนวความคิดของ วิไลรัตน์  ขันเจริญ (2539)  ได้วิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน : วิเคราะห์ในกรณีของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร  พบว่าการมี   ส่วนร่วมของผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง  ปัญหาจะเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองไม่มีเวลาร่วมกิจกรรม ผู้ปกครอง  ไม่เห็นความสำคัญของการร่วมกิจกรรม  ขาดความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมการรับประทานอาหารกลางวัน
                      การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหินทั้งระดับชั้นอนุบาลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ระดับชั้น ประถมศึกษาตอนปลาย  และชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่นักเรียนที่บ้านทั้งนี้เป็นเพราะพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นครูคนแรกและครูที่ดีที่สุดในโลกของลูก  เป็นครูตลอดเวลา และตลอดชีวิตของลูก เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เตรียม  ความพร้อมให้ลูกเข้าสู่สังคมภายนอกได้อย่างมั่นใจ              จัดบรรยากาศที่บ้านให้เกิดการเรียนรู้ทุกเวลา ทุกสถานที่  ทำให้สังคมมีแห่งการเรียนรู้  ที่ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา  ปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับลูก เด็กใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับครอบครัว เด็กมีโอกาสเรียนรู้ในห้องเรียนพียงร้อยละ 19  ของเวลาทั้งหมด ดังนั้น  เด็กสามารถเรียนรู้นอกห้องเรียนถึงร้อยละ 81 ของเวลาทั้งหมด  เปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าเวลาในโรงเรียนกับเวลาที่เด็กมีจริง ในชีวิตประจำวันนั้นต่างกันมาก  (รุ่ง แก้วแดง, 2541, หน้า 170)  ดังที่ อาภา ภมรบุตร (2545, หน้า 77)     กล่าวว่าเด็กเรียนรู้ทุกที่  สภาพแวดล้อมคือของจริงที่จะทำให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจชัดเจนขึ้น เด็กไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนตลอดเวลา      ผู้ปกครองควรมีความเข้าใจบุตรหลานของตนเอง  เพราะถ้ามีการส่งเสริมเด็กทั้งที่บ้านและโรงเรียนย่อมเป็นการสนับสนุนการเรียนในระบบหรือในโรงเรียนให้เป็นไปอย่างดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่ง เกตุสุเดช  กำแพงแก้ว (2547, หน้า 77)  กล่าวว่า การเรียนรู้ที่บ้าน (Learning at home)  เป็นการจัดสภาพแวดล้อมที่บ้าน      ให้สนับสนุน  การเรียนรู้เพราะเด็กเรียนรู้ทุกวินาที และยังสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2545  มาตร 24 (6)  บัญญัติว่า         ให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ให้เกิดได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดาผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชน       ทุกฝ่าย  เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ  ทั้งนี้ผู้ปกครองนักเรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน  จากที่บ้านได้ใน 3 ด้าน คือ          ด้านความรู้  ด้านพฤติกรรม  และด้านอาชีพ  ซึ่งผู้ปกครองสามารถสนับสนุนนักเรียนที่บ้านได้ โดยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้  พูดคุยสนทนากับเด็กที่เกี่ยวกับได้เรียนรู้จากโรงเรียน  กระตุ้นเตือนให้เด็ก  ทำกิจกรรมตามที่ครู  ได้มอบหมายให้  รวมทั้งให้คำแนะนำและช่วยเหลือเด็กเมื่อต้องการ จัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความรู้ ตามความคิดที่เด็กได้จากโรงเรียนเมื่อมีโอกาส การมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์    แก่นักเรียนที่บ้าน  สอดคล้องกับงานวิจัยด้านครอบครัวของรุ่งเรือง สุขภิรมย์ (2544, หน้า 11) พบว่า พ่อ แม่ ผู้ปกครอง  มีบทบาทสำคัญต่อการมีส่วนร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้และจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่บ้าน
                    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหินทั้งระดับชั้นอนุบาลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่น คือ  ด้านการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโรงเรียน  ทั้งนี้เป็นเพราะในชุมชนของโรงเรียนเป็นชุมชน ที่ผู้ปกครองนักเรียนมีอาชีพประมง  หรือผลิตภัณฑ์   ที่ได้จากประมงเป็นส่วนใหญ่  ผู้ปกครองส่วนใหญ่  มีอาชีพรับจ้าง  ทำให้ไม่สามารถบริจาคทรัพย์สิน              หรืออุปกรณ์การเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้โรงเรียนต้องหาทุนให้กับนักเรียนเป็นจำนวนมาก  ส่วนการให้ผู้ปกครองเข้ามาเป็นคณะกรรมการโรงเรียน  ผู้ปกครองกลัวจะไม่มีเวลาให้เมื่อเวลามีการประชุม  ไม่มีความรู้     ในการจัดการศึกษา และไม่มีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรเพียงพอ  ซึ่งสอดคล้องกับ อุษา ภูมี (2534)  ได้ศึกษา ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนประศึกษาชุมชน ศึกษากรณีจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า อาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับระดับความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับโรงเรียน  และสอดคล้องกับชาคริต  คล้ายพิมพ์ (2535) ได้วิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของกรรมการพัฒนาเด็กและผู้ปกครองเด็กในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กของหมู่บ้าน  จังหวัดปราจีนบุรี พบว่า บทบาทพฤติกรรมการเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กของกรรมการพัฒนาเด็ก ผู้ปกครองเด็ก      ด้านการใช้ความคิด  วางแผนและตัดสินใจ แสดงพฤติกรรมอยู่ในระดับน้อย  และยังสอดคล้องกับ บังอร อ้วนล้ำ (2540, บทคัดย่อ; อ้างถึงใน นิภาพรรณ หงส์ชูเกียรติ, 2544, หน้า 61)  วิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กในกิจกรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครอง  มีส่วนร่วมด้านการลงทุนบริจาคเงิน และแรงงานในกิจกรรม           เป็นลำดับสุดท้าย

ข้อเสนอแนะ
                    1.  ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครอง  โรงเรียนควรเชิญผู้ปกครองนักเรียนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนให้มากขึ้น  โดยการประชุมสัมมนาหรือจัดงานชุมนุมต่าง ๆ  เพื่อให้ผู้ปกครองได้ทราบข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวของโรงเรียน เชิญชวนและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครอง  เข้ามามีส่วนร่วมจัดห้องเรียน  วิธีจัดกิจกรรมและประสบการณ์ที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนกับครูเข้าร่วมอบรมเกี่ยววิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การเตรียมความพร้อม และเข้าอบรมเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาในระดับต่าง ๆ  กับโรงเรียนให้มากขึ้น และวางแผนพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ            มีเจตคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน วางแผนการนิเทศ ติดตาม กำกับ อย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
                    2.  ด้านการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่เด็กที่บ้านโรงเรียนควรให้ข้อมูล  และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบว่า  ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่เด็กที่บ้าน เช่น ผู้ปกครองควรมีเวลารับฟังและช่วยแก่ปัญหาให้เด็กทุกครั้งที่เด็กต้องการ
                    3.  ด้านการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์ที่โรงเรียน โรงเรียนควรวางแผนเปิดโอกาส   ให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โรงเรียนควรเชิญผู้ปกครอง มาเป็นวิทยากรให้โรงเรียน และให้เป็นคณะกรรมการของโรงเรียนในเรื่องต่าง ๆ
                    4. ด้านการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโรงเรียน  โรงเรียนควรวางแผนการจัดการศึกษาให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน  เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน  ควรวางแผนกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ควรนำทรัพยากรและบุคลากรในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน เชิญผู้ปกครองเข้าร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นระยะ  และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและภารกิจของโรงเรียนให้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
                      1.  ควรศึกษาการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประสบการณ์แก่เด็กที่โรงเรียนและการมีส่วนร่วมในการสนับสนุน โรงเรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน
                      2.  ควรศึกษาความต้องการของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน
                      3.  ควรศึกษาความต้องการของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนอื่น ๆ
                   4.  ควรศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน

กิตติกรรมประกาศ

               วิทยานิพนธ์เรื่องนี้สำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี ด้วยความอนุเคราะห์จาก ดร.สุริยะ เจียมประชานรากร อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รวมทั้งคณาจารย์ทุกท่านที่ให้คำปรึกษา แนะนำ ตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ
               ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์ ดร.รุ่งนภา  ตั้งจิตรเจริญกุล และ นายวิรัตน์ มณีพฤกษ์ ที่ให้ความอนุเคราะห์ ในการตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย  
               ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครู ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์    ทุกท่าน ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดี
                    ขอขอบคุณคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์  ดร.ประกฤติ พูลพัฒน์  ดร.บุญลือ ทองอยู่ และ รองศาสตราจารย์ อรทัย ทองอยู่ ที่ให้ ความอนุเคราะห์ ในการสอบวิทยานิพนธ์ และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขให้วิทยานิพนธ์ มีความสมบูรณ์มากขึ้น
                คุณค่าและประโยชน์จากวิทยานิพนธ์นี้ขอมอบเป็นเครื่องบูชาคุณบิดามารดา ครูอาจารย์และผู้มีพระคุณทุกท่านด้วยความเคารพอย่างสูง

 เอกสารอ้างอิง
หนังสือ และบทความในหนังสือ
จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ และคนอื่นๆ. (2540). รายงานการทบทวนองค์ความรู้เรื่องเด็กเยาวชนและครอบครัว
                     ในประเทศไทยและข้อเสนอเชิงนโยบายและการวิจัย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.
นภเนตร ธรรมบวร. (2541). รายงานการวิจัยประกอบร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   
                    พ.ศ. ประเด็นบทบาทของครอบครัวกับการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
                    แห่งชาติ.
รุ่ง แก้วแดง. (2541). ปฏิวัติการศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มติชน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544 ข). คู่มือการดำเนินงานของเครือข่ายพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู  
                    ในการร่วมพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิค.
________. (2542. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิค.
________. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545.
                   กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิค.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2544). รวมบทความ การบรรยายพิเศษในรอบ 1 ปี  
                  สมศ. กรุงเทพฯ : สมศ.
อาภา ภมรบุตร. (2545). จิตวิทยาเกี่ยวกับครูและการบริหารงานการศึกษา. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

บทความในวารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์
รุ่งเรือง สุขาภิรมย์. (2544, กุมภาพันธ์ ). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการปฏิรูป
                   การศึกษาไปปฏิบัติในระดับสถานศึกษา: ประสบการณ์จากนานาประเทศ. วารสารวิชาการ. 2 (4),
                  11-12.
สุภาวดี หาญเมธี. (2543). พ่อแม่กับการศึกษาลูก.สานปฏิรูป,กุมภาพันธ์,23, 39 - 42.

เอกสารอื่น ๆ
เกตุสุเดช กำแพงแก้ว. (2547). การศึกษากิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน:
                  กรณีศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหาร
                  การศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิภาพรรณ หงศ์ชูเกียรติ. (2544). สภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของศูนย์
                 พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย จุฬาลงกรณ์
                  มหาวิทยาลัย.
วิไลรัตน์ ขันธ์เจริญ. (2549). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน : วิเคราะห์       
                 ในกรณีของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ปริญญานิพนธ์การศึกษา
                 มหาบัณฑิต สาขาการปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.